Open hour - 7 am - 5 pm

เรื่องเล่าจากเฮือนคำหยาด ผ้าจก 200 ปี งานประเพณี 12 เดือน

Screenshot 2023 10 20 103328

You don't have a pdf plugin, but you can download the pdf file.

  • Hits: 408

พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ในจังหวัดอุตรดิตถ์

           

พิพิธภัณฑ์

 

               พิพิธภัณฑ์ เป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงถึงความเป็นมาของมนุษย์ทางด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะทางด้านวัฒนธรรมที่แสดงถึงความเจริญทางด้านอารยะธรรมตลอดจนภูมิปัญญาของกลุ่มชนนั้น ๆ แต่ละท้องถิ่นแต่ละชุมชนย่อมมีเอกลักษณ์และอัตลักษณ์เป็นของตนเอง ยิ่งพื้นที่ใด ชุมชนใดมีความหลากหลายของกลุ่มชนหรือทางด้านชาติพันธุ์ ความหลากหลายทางด้านภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาก ก็ย่อมมีความหลากหลาย

ก่อนที่จะเป็นจังหวัดอุตรดิตถ์ บริเวณนี้เป็นแหล่งชุมชนมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นเมืองท่า ด้านเหนือสุด จึงเป็นแหล่งชุมชนที่มีความหลากหลาย จากพงศวดารมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา อุตรดิตถ์จึงเป็นพื้นที่ ที่มีความหลากหลายทางด้านภูมิปัญญา วัฒนธรรม การเก็บรักษาสิ่งที่มีคุณค่าเหล่านี้ย่อมมีความสำคัญ โดยเฉพาะแสดงถึงภูมิปัญญาของบรรพชนอันทรงคุณค่า

การจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมท้องถิ่นจึงมีความสำคัญในการรวบรวมข้อมูลมรดกภูมิปัญญา กองศิลปวัฒนธรรมจึงได้ร่วมกับสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) จัดเก็บรวบรวมข้อมูลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อขยายองค์ความรู้ และเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ในรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาวิจัยต่อไป

คณะผู้จัดทำ

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

 

  • Hits: 1121

การแทงหยวก ตำบลไผ่ล้อม

การแทงหยวก

               วิถีชีวิตของคนไทยมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติที่อยู่รอบตัวตั้งแต่เกิดจนตาย เกิดเป็นประเพณีสืบทอดต่อเนื่องกันมา เช่นการเกิดใช้ผิวของไม้ไผ่ตัดสายสะดือ อู่ทำจากไม้ไผ่หรือหวาย เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มได้จากฝ้าย อาหารการกินได้จากธรรมชาติ เมื่อถึงคราวตายก็ยังคงมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ เช่น ฟืน โลงศพ ทำจากไม้ที่ได้จากธรรมชาติ

             งานพิธีที่เกี่ยวข้องกับการตาย ฐานะทางสังคมของผู้ตาย โดยเฉพาะถ้าเป็นชนชั้นสูง พระก็มีลักษณะที่แตกต่างจากสามัญชน เช่น มีการนำศพใส่โกศ หากเป็นพระมักใช้ปราสาทในงานศพ การแทงหยวกก็เป็นศิลปวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับงานศพ มีการสืบทอดต่อเนื่องมา ลวดลายก็มีความแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น ในสภาพสังคมปัจจุบัน การแทงหยวกเพื่อใช้ประกอบพิธีงานศพนั้นลดลง สาเหตุหนึ่งเพราะช่างแทงหยวกได้ลดจำนวนลงอย่างมาก

             บ้านโพธิ์ทอง ตำบลไผ่ล้อม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ มีช่างแทงหยวกที่ยังคงรักษาสืบทอดการแทงยวกไว้อยู่ กองศิลปวัฒนธรรม สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เห็นว่าการแทงหยวกนี้เป็นศิลปะท้องถิ่น และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ต้องอนุรักษ์และสืบทอดไว้จึงได้รวบรวมข้อมูลไว้ในเบื้องต้น ฐานข้อมูลทางวัฒนธรรมและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต

คณะผู้จัดทำ

กองศิลปวัฒนธรรม สำนักงานอธิการบดี

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

  • Hits: 1032

ดาบเหล็กน้ำพี้

 

ดาบเหล็กน้ำพี้

              ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของชนชาติไทยนับแต่การสร้างบ้านแปงเมืองตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา ประกอบด้วยปัจจัยหลากหลายอย่างนับแต่จำนวนผู้คน ผู้นำที่ฉลาดกล้าแกร่งยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี ขวัญกำลังใจที่สำคัญคืออาวุธ ก่อนถึงยุคของปืนที่นำมาใช้ในการสงครามตั้งแต่ปืนที่บรรจุกระสุนทางปากกระบอกยิงทีละนัด จวบจนเข้าสู่ยุคปืนปัจจุบัน ดาบเป็นอาวุธคู่กายของเหล่าบรรดาทหารหาญ ไม่ว่าสังกัดกรมกองไหน นับแต่ไพร่ราบ พลธนู ทหารม้า จนถึงแม่ทัพนายกอง และพระมหากษัตริย์

             เหล็กน้ำพี้เป็นเหล็กที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เหมาะสำหรับการนำมาตีเป็นอาวุธ เพราะมีคุณสมบัติที่เหมาะสมและยังมีความเชื่อว่าเหล็กน้ำพี้มีความศักดิ์สิทธิ์ มีอาถรรพ์ ป้องกัน ปัดเป่าสิ่งที่ชั่วร้าย ป้องกันขับไล่คุณไสย์ต่าง ๆ ได้ ดาบที่ตีจากเหล็กน้ำพี้ทั้งเล่มจึงเป็นที่ต้องการและมีคุณค่ามาถึงปัจจุบัน แม้ว่าความจำเป็นในการใช้ดาบได้ลดความสำคัญลงมาก

             จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นจังหวัดที่มีแหล่งแร่เหล็กน้ำพี้หรือบ่อแร่น้ำพี้อยู่ และอดีตอุตรดิตถ์เป็นเมืองหน้าด่าน เป็นเมืองนักรบ การตีดาบมีมานับแต่โบราณกาล สืบทอดต่อเนื่องกันมาจนมาเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าจึงนับว่าโชคดีที่มีทั้งเหล็กน้ำพี้และมรดกการตีดาบ

             กองศิลปวัฒนธรรม สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รวบรวมเรื่องราวทางวัฒนธรรม จึงได้รวบรวมข้อมูล เรื่องดาบเหล็กน้ำพี้ เริ่มตั้งแต่การหาแร่เหล็กน้ำพี้ การเตรียมแร่เหล็กสำหรับการถลุง การถลุงเหล็ก การคัดเลือกคุณภาพของเหล็กที่ถลุงแล้ว กระบวนการตีดาบแบบโบราณ จนกระทั่งได้ดาบที่ตีจากเหล็กน้ำพี้ทั้งเล่มอย่างสวยงามและมีคุณสมบัติพร้อม ไว้ให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาและเก็บเป็นข้อมูลอันทรงคุณค่านำไปใช้ประโยชนือื่น ๆ ได้

                                                                                คณะผู้จัดทำ

กองศิลปวัฒนธรรม สำนักงานอธิการบดี

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

  • Hits: 1700

ผ้าทอลายน้ำไหลบ้านหนองแห้ว น้ำปาด

ผ้าทอบ้านหนองแห้ว น้ำปาด

 

 

อุตรดิตถ์มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์อย่างต่อเนื่องยาวนาน มีอาณาเขตติดต่อกับอาณาจักรโบราณ เช่น อาณาจักรล้านนา อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรโบราณเหล่านี้ มีศิลปวัฒนธรรมเป็นของตนเองอย่างชัดเจน ผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จึงมีการติดต่อสัมพันธ์ ไม่ว่าทางเครือญาติ การค้าขาย ตลอดจนความเชื่อมโยงทางด้านวัฒนธรรมและวิถีชีวิต มีการถ่ายทอดกิจกรรมทางด้านศิลปวัฒนธรรมทางด้านต่าง ๆ เช่น อาหารการกิน ความเชื่อ การแต่งกาย
เป็นต้น

             บ้านหนองแห้ว อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์มีพื้นที่ใกล้กับ สปป.ลาว (อาณาจักรล้านช้าง) ตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมีภาษาพูดเป็นภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาลาว จึงเป็นข้อพิสูจน์อย่างหนึ่ง ว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน นอกจากภาษาพูดแล้ว การแต่งกายก็มีความคล้ายคลึงกับวัฒนธรรมของคนลาว โดยการทอผ้าซิ่น ซึ่งลวดลายดั้งเดิม มีลวดลายที่อยู่ในกลุ่มของคนลาวที่มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมวิถีชีวิต แม้ว่าในปัจจุบันได้มีการประยุกต์ลวดลายจากลวดลายดั้งเดิมไปบ้าง

             การทอผ้าในอดีตนั้น แต่เดิมมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของผู้คนอย่างใกล้ชิด แต่เมื่อสภาพแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงไป การทอผ้าจึงมีความสำคัญลดลง เนื่องจากผู้คนได้หันไปประกอบอาชีพอื่นที่สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวมากยิ่งขึ้น

             กองศิลปวัฒนธรรม สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ในฐานะหน่วยงานที่มีพันธกิจโดยตรง จึงได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลผ้าทอบ้านหนองแห้ว อำเภอน้ำปาดไว้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลเหล่านี้จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป และยังเป็นหลักฐานทางวิชาการทางด้านวัฒนธรรมอีกด้วย

คณะผู้จัดทำ

กองศิลปวัฒนธรรม สำนักงานอธิการบดี

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

  • Hits: 1043