Open hour - 7 am - 5 pm

ภาษาไทยโบราณ จากรอยจารึกบนกระเบื้องวิหารวัดพระฝาง

 

       วัดพระฝางหรือชื่อเต็มคือวัดพระฝางสวางคบุรีมุณีนาถ เป็นวัดที่เก่าแก่ตาม หลักฐานย้อนไปถึงสมัยสุโขทัย มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่มีหลักฐานปรากฏ เช่น วัดพระฝางเป็นที่ตั้งของก๊กพระฝางในช่วงเสียกรุงครั้งที่ 2 นอกจากนี้ยังมี ความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างชัดเจน เชื่อมโยงถึงชุมชนวัดในอดีต จากการศึกษากระเบื้องมุงหลังคาพระวิหารที่ทำ ด้วยดินเผา มีการขีดเขียนหรือ การจารึกปรากฏไว้บนแผ่นกระเบื้องที่ใช้มุงหลังคาเขียน ด้วยตัวอักษร สระไทย อย่างที่ใช้ในปัจจุบัน ขณะที่กระเบื้องดินเผายังไม่แข็งตัวหรือดินยังหมาดอยู่ แล้ว ใช้วัตถุที่แข็งจารึกลงบนแผ่นกระเบื้อง 

 

ข้อความที่จารึกพบว่ากระเบื้องได้มีการปั้นหรือเผา ณ วัดท่าเสา หรือวัดใหญ่ ท่าเสา พ.ศ. 2388 อยู่ในช่วงรัชกาลที่ 3 เป็นปีที่ 21 ที่ทรงครองราชย์ สิ่งที่น่า สนใจและศึกษาคือ การสะกดคำ การวางตำ แหน่งของสระ พยัญชนะมีความแตก ต่างจากการเขียนในปัจจุบัน หากนับเวลามาถึงปัจจุบันคือ พ.ศ. 2566 กาลเวลา ได้ล่วงเลยมานับได้ 178 ปีแล้วพบว่าภาษามีการเปลี่ยนแปลงทั้งการเขียน ความ หมาย หากมีการนำ ไปศึกษาในด้านวิชาที่เกี่ยวข้องกับภาษาแล้วก็จะเกิดประโยชน์ ในเชิงวิชาการ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นซึ่งก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อไป 

คณะผู้จัดทำ 

กองศิลปวัฒนธรรม สำ นักงานอธิการบดี 

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

 

ภาษาไทยโบราณ จากรอยจารึกบนกระเบื้องวิหารวัดพระฝาง

 

  • Hits: 420