Open hour - 7 am - 5 pm

การเปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาถิ่นทุ่งยั้งเหนือ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

         ความเป็นมาและความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า ภาษา เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสารในสังคม ภาษาจึงเป็นรากฐานสำคัญยิ่งในการ ดำรงชีวิต เพราะมนุษย์ต้องใช้ภาษาเป็นเครื่องติดต่อและแลกเปลี่ยนความเห็น ซึ่งกันและกันอยู่ตลอดเวลา ทั้งยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นยังกล่าวได้ว่าภาษาเป็นเครื่องมือในการช่วยพัฒนาความคิดของมนุษย์ การที่มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารให้เข้าใจตรงกันได้ แสดงว่ามีความสามารถในการใช้ภาษา ความสามารถในการใช้ภาษาเกิดจากการเรียนรู้ การเรียนรู้ภาษาจึงเป็นสิ่งจำเป็นในทุกยุคทุกสมัย ซึ่งภาษามีการวิวัฒนาการทางตัวอักษร ภาษาพูด ภาษาเขียน โดยสามารถแบ่งภาษาออกได้หลากหลายแขนง ภาษาทุกภาษามีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอซึ่งเป็นธรรมชาติของภาษาที่ใช้พูดกันในชีวิตประจำวันหรือเรียกว่าภาษาที่ยังไม่ตาย อาทิ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เป็นต้น

ส่วนภาษาที่ไม่มีใครใช้พูดกันในชีวิตประจำวันหรือเรียกว่าภาษาที่ตายแล้ว ย่อมไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น อาทิ ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต เป็นต้น ภาษาถิ่นเป็นภาษาย่อยที่มีลักษณะเฉพาะกลุ่ม มีสำเนียงการพูด การแสดงออกทางภาษาที่แตกต่างกัน เพื่อใช้สื่อสารกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจในท้องถิ่นนั้น ๆ ทั้งนี้ภาษาถิ่นยังแสดงถึงเอกลักษณ์ ลักษณะความเป็นอยู่ และวิถีชีวิตของผู้คน ในท้องถิ่นของแต่ละพื้นที่ ซึ่งอาจจะแตกต่างจากภาษาถิ่นอื่น ทั้งทางด้านเสียง คำ และการใช้คำ ภาษาถิ่นเป็นภาษาที่มีลักษณะเฉพาะถ้อยคำ และสำเนียงภาษาถิ่นจะแสดงถึงเอกลักษณ์ ลักษณะความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นออกแต่ละภาคของประเทศไทย บางทีเรียกว่าภาษาถิ่น และหากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้างก็จะมีภาษาถิ่นหลากหลายและมีภาษาถิ่นย่อย ๆ ลงไปอีก เช่น ภาษาถิ่น ใต้ก็มีภาษาสงขลา ภาษานคร ภาษาสุราษฎร์ เป็นต้น ภาษาถิ่นทุกภาษาล้วนเป็นภาษาที่สำคัญในสังคมไทย ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีประวัติความเป็นมาที่สำคัญ และมีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับการวิวัฒนาการทางภาษาไว้มากมาย ตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมา ตัวอย่างเช่น เมืองทุ่งยั้ง มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า กัมโพชนคร สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เพราะมีการปรากฏชื่อเมืองทุ่งยั้งในศิลาจารึกหลักที่ 38 วัดสระศรี สุโขทัย และเอกสารทางประวัติศาสตร์อีกหลายแห่ง หนึ่งในนั้นก็คือ พงศาวดารเหนือ ซึ่งกล่าวถึงเมืองทุ่งยั้งว่า บาธรรมราช ผู้ปกครองเมืองสวรรคโลก ได้สร้างเมืองทุ่งยั้งขึ้น เพื่อให้พระโอรสไปปกครอง และให้ชื่อว่า กัมโพชนคร สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงประทานความเห็นว่า เมืองทุ่งยั้งน่าจะเป็นเมืองหน้าด่าน ทางฝั่งตะวันตกของลำน้ำน่านในสมัยสุโขทัย เนื่องจากมี

ลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นที่ราบ ติดต่อกับตัวเมืองอุตรดิตถ์ที่อยู่ริมแม่น้ำน่าน และภายหลังก็สันนิษฐานว่าเมืองทุ่งยั้งน่าจะหมดความสำคัญลงเนื่องจากทางน้ำในแม่น้ำน่านแปรปรวน กัดเซาะทำลายตลิ่งจนทำให้เมืองทุ่งยั้งไม่เหมาะสมที่จะเป็นเมืองหน้าด่านอีกต่อไป ปัจจุบันยังมีร่องรอยของคูเมืองกำแพงเมืองบางส่วน ซึ่งจาก กำแพงเมืองที่เป็นหินศิลาแลงที่อยู่ใกล้กับวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ทั้งนี้เมืองทุ่งยั้งยังมีความเกี่ยวข้องกับเวียงเจ้าเงาะ ซึ่งสันนิษฐานกันว่าเป็นชุมชนสมัยแรกของอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ภายในเมืองทุ่งยั้งอีกที โดยภายในแหล่งโบราณคดีของเวียงเจ้าเงาะปรากฏทั้งบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ คันคูเมือง 3 ชั้น และโบราณวัตถุอีกมากมาย วัดที่สำคัญของเมืองทุ่งยั้งคือ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ด้วยสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของพระบรมธาตุภายในวัดทุ่งยั้ง ที่มีลักษณะเป็นทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบสุโขทัย ทำให้สันนิษฐานได้ว่าเมืองทุ่งยั้งน่าจะเป็นเมืองลูกหลวงในสมัยสุโขทัย ปัจจุบันวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งเป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ากราบไหว้ขอพรได้ทุกวัน พร้อมทั้งมีโบราณสถานที่สำคัญอย่างพระวิหารหลวง พระอุโบสถ หลวงพ่อประธานเฒ่า ให้ได้เที่ยวชมด้วย ทั้งนี้ในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี จะมีการจัดงานประเพณีถวายพระเพลิงพระบรมศพ หรือที่เรียกว่า วันอัฏฐมีบูชา อย่างยิ่งใหญ่ ถือเป็นการจัดพิธีแบบนี้แห่งเดียวในโลก

         ด้วยเหตุนี้กองศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จึงสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับภาษาถิ่นของตำบลทุ่งยั้ง หมู่ที่ 2 ทุ่งยั้งเหนือ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เนื่องจากเป็นภาษาที่มีความแตกต่างจากภาษาอื่น โดยมีลักษณะคล้ายคลึงกับ ภาษาสุโขทัยและภาษาพิษณุโลก ทั้งนี้เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและเก็บรวบรวมภาษาถิ่นในหมู่บ้านทุ่งยั้งเหนือ

 

การเปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาถิ่นทุ่งยั้งเหนือ1

 

การเปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาถิ่นทุ่งยั้งเหนือ2

You don't have a pdf plugin, but you can download the pdf file.

  • Hits: 1177